1. สถานีไฟฟ้าย่อยกลางแจ้ง หรือ Outdoor Substation
จะมีอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูงติดตั้งบริเวณภายนอกอาคาร ใช้แรงดันไฟฟ้าทุกระดับระหว่าง 55 kV ถึง 765 kV ใช้เวลาในการก่อสร้างสถานีย่อยกลางแจ้งน้อย ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสวิตว์เกียร์ต่ำ การซ่อมแซมง่าย แต่ใช้พื้นที่เยอะ อุปกรณ์ที่ออกแบบมาใช้กับสถานีย่อยกลางแจ้งมีค่าใช้จ่ายสูง และจำเป็นต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟกระชาก
Outdoor Substation
เครดิตภาพ www.pea.co.th
2. สถานีไฟฟ้าย่อยภายในอาคาร หรือ Indoor Substation
อุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูงจะถูกติดตั้งไว้ในอาคาร ส่วนใหญ่จะเป็นสถานีไฟฟ้าที่อยู่บริเวณชุมชน ข้อดีคือใช้พื้นที่ในการก่อสร้างน้อย มีความสะดวก ปลอดภัยในการปฏิบัติงาน แต่ข้อเสียคือมีราคาแพง
Indoor Substation
เครดิตภาพ www.pea.co.th
3. สถานีไฟฟ้าย่อยแบบผสม หรือ Hybrid Substation
จะเป็นการติดตั้งฉนวน SF6 และฉนวนอากาศในสถานีเดียวกัน พิจารณาจากข้อแตกต่างคุณสมบัติของฉนวนในตำแหน่งที่ติดตั้ง
4. สถานีไฟฟ้าย่อยแบบชั่วคราว หรือ Mobile Substation
เป็นสถานีไฟฟ้าย่อยที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย หากต้องการจุดจ่ายกระแสไฟฟ้าแบบเร่งด่วน หรือกรณีใช้แทนสถานีไฟฟ้าย่อยที่เกิดความผิดปกติ
ซึ่งอุปกรณ์หลักๆในสถานีไฟฟ้าย่อยจะประกอบไปด้วย
– Supply Line
– หม้อแปลงไฟฟ้า
– สวิตช์
– บัสบาร์
– Feeders ขาออก
– อุปกรณ์ป้องกันไฟกระชาก
– สายดิน
กล้องถ่ายภาพความร้อน (Thermal Camera) หรือ เทอร์โมสแกน (Thermoscan) สามารถนำมาใช้ประโยชน์สำหรับการดูแลและบำรุงรักษาอุปกรณ์ต่างๆ ในสถานีไฟฟ้าย่อยเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้ เช่น การตรวจวัดอุณหภูมิบริเวณหม้อแปลงไฟฟ้า ด้วยข้อจำกัดด้านระยะทางในการวัด หากใช้กล้องถ่ายภาพความร้อนแบบเลนส์ปกติทั่วไป หรือ Standard Lens อาจจะไม่สามารถเห็นจุดที่ต้องการวัดได้ ดังนั้นจำเป็นต้องใช้เลนส์ระยะไกล หรือ Telephoto Lens ที่สามารถโฟกัสภาพจากระยะไกลได้ ทำให้ภาพที่ได้มีขนาดใหญ่กว่าการถ่ายภาพด้วยเลนส์ปกติ
ความละเอียดสูง
ตัวตรวจจับ HIKMICRO VOX ที่มีความไวสูง (NETD < 30 mk) ความละเอียดภาพความร้อน 640 x480 (307,200 pixels) , ให้ภาพความร้อนที่ชัดเจนของวัตถุเป้าหมาย
ลดการสะท้อนจากแสงแดด
ช่องมองภาพอิเล็กทรอนิกส์ OLED ขนาด 1024 x 768 และหน้าจอ LCD แบบสัมผัสที่ปรับความสว่างอัตโนมัติขนาด 5 นิ้ว ทำให้ง่ายต่อการตรวจสอบภายนอกอาคารภายใต้สภาพแสงที่สว่างจ้า
เลนส์และหน้าจอสามารถหมุนได้
หน้าจอหมุนได้ 90 องศาโดยสามารถวางแนวได้อัตโนมัติและเลนส์หมุนได้ 180 องศา ช่วยให้ง่ายต่อการมองพื้นที่โดยรอบ ระหว่าง ด้านบน หรือด้านล่างของวัตถุเป้าหมาย
โฟกัสรวดเร็วภายในวินาทีเดียว
รองรับโหมดโฟกัส 4 โหมด (โฟกัสแบบ manual,โฟกัสอัตโนมัติแบบต่อเนื่อง, โฟกัสอัตโนมัติ และเลเซอร์ช่วยโฟกัส) และความเร็วในการโฟกัสที่รวดเร็ว 1 วินาทีช่วยประหยัดเวลาด้วยการให้ภาพที่คมชัดยิ่งขึ้นส่งผลให้ได้ภาพความร้อนที่มีความแม่นยำ
ซูมแบบดิจิตอลอย่างต่อเนื่อง
ซูมแบบดิจิตอลอย่างต่อเนื่อง 1.0x ถึง 12.0x ให้รายละเอียดของภาพมากขึ้น
คำอธิบายประกอบภาพ
นอกเหนือจากการรองรับคำอธิบายประกอบเสียงและข้อความแล้ว ฟังก์ชัน GPS และเข็มทิศยังเพิ่มตำแหน่งและทิศทางโดยอัตโนมัติ
เลนส์แบบเปลี่ยนได้หลากหลายขนาด
มีเลนส์แบบเปลี่ยนได้ L8, L12, L25 และ L50 เลนส์ต่างๆ มีมุมมองที่แตกต่างกัน ทำให้คุณมีตัวเลือกมากขึ้นสำหรับสถานการณ์ต่างๆ
การวิเคราะห์และการรายงานอย่างมืออาชีพ
HIKMICRO Analyzer เป็นซอฟต์แวร์ฟรี ที่อนุญาตให้ผู้ใช้ดู แก้ไข และวิเคราะห์ภาพ นำเสนอวิธีที่ยืดหยุ่นในการวิเคราะห์ข้อมูลจากภาพเรดิโอเมตริก และสนับสนุนการสร้างรายงานที่ใช้งานง่ายด้วยเทมเพลตรายงานที่กำหนดเอง
โหมด Level และ Span
รองรับโหมด Level / Span 3 แบบ (แบบ Manual, แบบอัตโนมัติ และ แบบแตะครั้งเดียว) เพื่อช่วยปรับปรุงความคมชัดของภาพในทันทีและเน้นปัญหาที่อาจเกิดขึ้น
กล้องถ่ายภาพความร้อน แบรนด์ Hikmicro รุ่น SP Series
SP Series | SP 60 |
ความละเอียด | 640 x 480 (307, 200 pixels) |
ค่า NETD | < 0.03°C (30 mK) at 25°C (77°F) Ambient temperature, F# = 1.0 |
FOV (Field of View) | L8: 77.4 mm, L12: 51.4 mm, L25: 25.0 mm, L50: 12.6 mm |
หน้าจอแสดงผล | 37.2° 1280 × 720 Resolution, 5’’ LCD Touch Screen× 50 ° |
ช่องมองภาพ | Built-in 1024 × 768 pixels |
ช่วงการวัด | -20 °C ถึง 650 °C (-4 °F to 1202 °F) |
ผลิตภัณฑ์ กล้องถ่ายภาพความร้อน
” instrumentasia ตัวแทนจำหน่ายกล้องถ่ายภาพความร้อน Hikmicro อย่างเป็นทางการ ในประเทศไทย พร้อมบริการหลังการขาย อบรมการใช้งาน ซ่อม สอบเทียบ ครบจบในที่เดียว “