กล้องถ่ายภาพความร้อน (Thermal Imaging Camera) เป็นอุปกรณ์สำคัญในการบำรุงรักษาและซ่อมแซมงานด้าน HVAC นอกจากนี้กล้องถ่ายภาพความร้อนยังสามารถใช้ตรวจสอบและป้องกันในการบำรุงรักษาอาคาร ก่อนที่จะเกิดปัญหาลุกลามจนเกิดความเสียหายที่มากขึ้น
กล้องถ่ายภาพความร้อนทำงานอย่างไร? อุปกรณ์เหล่านี้จะตรวจจับรังสีอินฟราเรดที่ถูกปล่อยออกมาจากวัตถุ อุณหภูมิของวัตถุจะเป็นตัวกำหนดระดับพลังงานอินฟราเรดที่วัตถุนั้นๆปล่อยออกมา ช่วยให้กล้องถ่ายภาพความร้อนสามารถแสดงความแตกต่างระหว่างพื้นที่ร้อนและเย็น และใช้ข้อมูลดังกล่าวเพื่อแก้ไขปัญหา
ตัวอย่างปัญหาที่สำคัญที่กล้องถ่ายภาพความร้อนสามารถระบุได้:
1. ระบุการไหลของอากาศ (Air flow) และการรั่วของท่อ (Duct Leak)
สามารถใช้กล้องถ่ายภาพความร้อนเพื่อจัดทำแผนที่ความแตกต่างของอุณหภูมิสามารถใช้เพื่อระบุพื้นที่การแปรผันการไหลของอากาศที่ควรมีความสม่ำเสมอ ทางผู้เชี่ยวชาญสามารถใช้ข้อมูลนี้เพื่อพิจารณาว่ามีปัญหาการไหลเวียนอากาศหรือการรั่วไหลหรือไม่ และแนะนำวิธีการแก้ไขหรือมาตรการป้องกัน
นอกจากนี้กล้องถ่ายภาพความร้อนเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ลูกค้าประหยัดเงินทั้งระยะสั้นและระยะยาว ตรวจสอบอาคารเพื่อดูเรื่องการประหยัดพลังงาน การสูญเสียความร้อนและการไหลของอากาศจะก่อให้เกิดปัญหาได้ เมื่อการไหลเวียนของอากาศภายในอาคารสร้างความไม่สมดุลของการแลกเปลี่ยนอากาศ ระบบ HVAC ในอาคารอาจทำงานหนักเกินไป ส่งผลให้ระดับอุณหภูมิและความชื้นอยู่นอกช่วงที่กำหนดไว้ การตรวจสอบตั้งแต่เนิ่นๆทำให้มีโอกาสในการแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วและใช้งานในระบบอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยต้นทุนการบำรุงรักษาที่ลดลง
2. กรอบอาคาร (Building Envelope) ฉนวนกันความร้อน (Insulation) และการรั่วซึมของอากาศ (Air Infiltration)
ประสิทธิภาพการใช้พลังงานขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของโครงสร้างอาคาร รวมถึงฉนวน หน้าต่างหรือประตู กล้องถ่ายภาพความร้อนสามารถระบุได้ว่ามีการรั่วไหลของอากาศออกไปด้านนอกหรือมีการรั่วซึมของอากาศภายนอกเข้ามาในอาคารหรือไม่ ซึ่งช่วยให้สามารถดำเนินการซ่อมแซมหรือยกระดับฉนวนกันความร้อนของกรอบอาคารได้
3. การค้นหาข้อบกพร่องของระบบปรับอุณหภูมิใต้พื้น (Radiant Flooring)
การปรับอุณหภูมิใต้พื้น หากมีการรั่วไหลหรือสูญเสียพลังงานเป็นสิ่งที่ยากต่อการตรวจสอบได้ ซึ่งกล้องถ่ายภาพความร้อนจะช่วยให้ผู้ตรวจสอบสามารถค้นหาข้อบกพร่องได้ง่ายขึ้น โดยไม่เป็นการรบกวนการทำงานของระบบทั้งหมด
4. การวินิจฉัยปัญหาคอนเดนเซอร์คอยล์ (Condenser coil)
ในระบบปรับอากาศอาจมีสัญญาณหลายประการที่บ่งบอกว่าคอยล์มีความเสียหายหรือทำงานผิดปกติ การถ่ายภาพความร้อนสามารถช่วยระบุปัญหาบางอย่างของคอนเดนเซอร์คอยล์ได้ เช่น การอุดตันของเศษขยะ ทำให้ยับยั้งการถ่ายเทความร้อนและทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักขึ้น
5. การดำเนินการอย่างรวดเร็วสำหรับขั้วต่อไฟฟ้าที่มีความร้อนเกินพิกัด (Overheating Electrical Connections)
อุปกรณ์ความปลอดภัยด้านอัคคีภัย สามารถแจ้งเตือนเมื่อมีควัน หรือเกิดสถานการณ์เพลิงไหม้ กล้องถ่ายภาพความร้อนสามารถระบุบริเวณขั้วต่อไฟฟ้าที่มีความร้อนเกินพิกัดที่อาจนำไปสู่อันตรายจากไฟไหม้ได้ ความร้อนที่สูงเกินไปของอุปกรณ์ทางไฟฟ้า อาจทำให้อุปกรณ์ทำงานล้มเหลว เป็นอุปสรรคต่อการใช้งาน และการซ่อมแซมที่มีราคาแพง
6. การตรวจสอบน้ำรั่ว (Water Leak) ที่อาจก่อให้เกิดเชื้อราภายในอาคาร
ความชื้นที่เกิดจากการรั่วของน้ำ มีโอกาสสูงที่จะก่อให้เกิดเชื้อรา กล้องถ่ายภาพความร้อนมีบทบาทที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาก่อนที่จะเกิดเชื้อรา โดยช่วยระบุพื้นที่ที่มีความชื้นสูง การค้นหาสภาวะเหล่านี้ได้เร็ว และก่อนที่ระบบปรับอากาศของอาคารจะทำงานอย่างเต็มรูปแบบ สามารถจัดการปรับปรุงการตั้งค่าการทำงานของระบบ HVAC หรือดำเนินการซ่อมแซมก่อนที่เชื้อราจะส่งผลต่อคุณภาพอากาศและการปฏิบัติงาน กล้องถ่ายภาพความร้อนจะช่วยระบุพื้นที่ที่เกิดปัญหาความแปรปรวนของอุณหภูมิอากาศจนทำให้เกิดความชื้นและสภาวะการเจริญเติบโตของเชื้อราภายในอาคาร
หากระบบ HVAC ของอาคารทำงานแบบไม่มีประสิทธิภาพ จะส่งผลต่อประสิทธิภาพการใช้พลังงานโดยรวม ทั้งระบบทำความร้อน ระบบทำความเย็นและระบบประปา กล้องถ่ายภาพความร้อนเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นที่ช่วยในการวินิจฉัยปัญหาได้อย่างรวดเร็ว หากทราบต้นเหตุของปัญหาได้เร็ว ก็จะสามารถแก้ไขปัญหาได้เร็วขึ้นเช่นกัน